สำนัก

โดย
สำนักการกระจายอำนาจและปกครองตนเอง(กอ-ปอ)
Decentralization & Local Autonomy Agency(DLA)

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เรื่องที่เกษตรกรข้าว ควรรู้

 "ข้าวและชาวนา": ข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้
โดย หม่อมแม่

1.   ประวัติศาสตร์การปลูกข้าวเพื่อขาย

·         หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งในปี ค.. 1855(2398) การค้าผูกขาดของไทยโดยพระคลังสินค้าเปลี่ยนเป็นการค้าเสรี การเพาะปลูกเพื่อขายได้เพิ่มมากขึ้น มหาอำนาจตะวันตกต้องการข้าวเพื่อไปเลี้ยงประเทศอาณานิคม
·         การผลิตข้าวของไทยเพิ่มมากขึ้นในช่วงปี1870-1900 (2413-2443) พื้นที่การผลิตข้าวเพิ่มจากประมาณ 5.8 ล้านไร่เป็น 9.2 ล้านไร่ ส่วนสินค้าออกก็เพิ่มสูงมากจาก 2.4 ล้านหาบ เป็น8.1 ล้านหาบ ข้าวเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของประเทศไทยมาตลอด ในปี 1870 (2413)สินค้าออกข้าวคิดเป็น 50% ของผลผลิตข้าวทั้งหมด
·         เมื่อมีการปลูกข้าวมากขึ้น โรงสีก็เพิ่มขึ้นตาม ในระยะแรกๆ จะตั้งกันอยู่ในกรุงเทพ จนถึงปี 2422 จึงเริ่มขายออกไปตั้งอยู่ในชนบทอย่างช้าๆ  จนกระทั่งหลังปี 2462 โรงสีในต่างจังหวัดจึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว[2]
·         ปี 2450 ได้จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวเป็นครั้งแรก
·         ปี 2450 จัดตั้งสถานีทดลองข้าวขึ้นเป็นแห่งแรกที่ทุ่งรังสิต เเพื่อเผยแพร่สู่ชาวนา มีการศึกษาเรื่องการเพิ่มผลผลิต โดยใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ย ดิน เครื่องจักรกลทางการเกษตร  และเครื่องมือกำจัดศัตรูข้าว
·         หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงที่เรียกว่า ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอเมริกา ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องพันธุกรรมในประเทศขตร้อนและการปรับปรุงพันธุ์พืช มาช่วยไทยในการบำรุงพันธุ์ข้าว และจัดตั้งกองการข้าวเมื่อปี 2493 (เริ่มโดยการอบรมพนักงานเรื่องการบำรุงพันธุ์ข้าว เรื่องดินและปุ๋ย และกลับไปรวบรวมรวงข้าวจากชาวนา 938 แห่งทั่วประเทศ เป็นจำนวนกว่า 120,000 สายพันธุ์ เพื่อส่งมาคัดเลือกพันธุ์ตามสถานีทดลองพันธุ์ต่างๆในปีต่อไป)[3]
·         
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่1 (2495-2505) มุ่งนำพาประเทศไปสู่อุตสาหกรรรมโดยใช้เกษตรกรรมเป็นพื้นฐาน ตรงกับช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มอาหารให้เพียงพอต่องพลเมืองโลกที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
·         การปฏิวัติเขียว(The Green Revolution) โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ เป็นผลให้เกิดสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติขึ้น (IRRI) ณ ประเทศฟิลิปปินส์ (.. 2503)เพื่อรวบรวมเมล็ดข้าวพันธุ์พื้นเมืองจากทั่วโลก สำหรับนำมาคัดเลือกทดลองตัดต่อพัฒนาเป็นข้าวพันธุ์ใหม่แล้วแจกจ่ายส่งเสริมไปตามพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ รัฐบาลไทยเริ่มส่งเสริมให้ชาวนาไทยปลูกข้าวที่ออกจากห้องปฏิบัติการของอีรี่ ตั้งแต่ปี 2509 คือข้าวที่ตั้งชื่อสกุลเป็น กข ต่างๆก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ชื่อสถานีทดลองข้าวนำหน้าชื่อสายพันธุ์ เช่น ข้าวปทุมธานี 1 ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 เป็นต้น [4]
·         อีรี่และสถาบันวิจัยการเกษตรระหว่างประเทศอีก 15 ศูนย์นั้นดำเนินการภายใต้คณะผู้บริหารที่เรียกว่า CGIAR (Consultative Group for International Agriculture Research) ซึ่งอยู่ภายใต้ธนาคารโลกอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นทิศทางการดำเนินงานของสถาบันวิจัยระหว่างประเทศดังกล่าวนี้จึงต้องเป็นไปตามแนวนโยบายของธนาคารโลก [5]

2.   พัฒนาการการปลูกข้าวเพื่อขายในแต่ละภาค[6]

2.1 ภาคกลาง
·         เป็นภาคแรกที่เปลี่ยนจากการผลิตข้าวเพื่อกินเป็นเพื่อขาย อันเนื่องมาจากสนธิสัญญาเบาริ่ง แม้ในช่วงแรกจะเป็นการขายส่วนที่เหลือจากการบริโภค
·         ในช่วงปี 1905-1906(2448-2449) สินค้าออกข้าวของไทย 98% มาจากภาคกลาง จากภาคเหนือ 1 % และอีสาน  1 % ในช่วงนั้น จากเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด 9.2 ล้านไร่ อยู่ในภาคกลาง 6.8 ล้านไร่ และภาคอื่นๆรวมกันเพียง 2.4 ล้านไร่
·         ศาสตราจารย์ซิมเมอร์แมน( Carle C. Zimmerman) ทำการสำรวจเศรษฐกิจชนบทของไทย ในปี 1930 ระบุว่า ตั้งแต่สยามเปิดต่อการค้าระหว่างประเทศ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างสำคัญในที่ราบภาคกลาง เขาให้ตัวเลขว่าไร่นาภาคกลางนั้นมีขนาด 30-200 ไร่ ต่างกันมากกับภาคอีสานและภาคใต้ซึ่งมีขนาดเพียง 1-20 ไร่ ซิมเมอร์แมนสรุปว่า ในปี 1930 มีท้องที่ที่เป็นเศรษฐกิจเพื่อขายเพียงแห่งเดียวคือภาคกลาง เขาประมาณว่า ในปีนั้น 3ใน5 ของข้าวที่ผลิตได้ในภาคกลางส่งออกขายต่างประเทศ หมายความว่าในช่วงครึ่งศตวรรษหลังสนธิสัญญาเบาริ่งเศรษฐกิจภาคกลางเปลี่ยนจากการผลิตจากพอยังชีพเป็นผลิตเพื่อขาย
·         เดิมภาคกลางผลิตข้าวในแถบสุพรรณบุรี สิงห์บุรี อินทร์บุรี พรหมบุรี เหนืออยุธยาขึ้นไป แต่ตอนปลายศตวรรษที่ 19 เกิดการอพยพชาวนาในภาคกลางมาทำนาในเขตที่ดินปากแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งฝั่งซ้ายและขวา ในปี 1890 (2433) บริษัทขุดคลองและคูนาสยามได้สัมปทานขุดคลองเปิดพื้นที่แถบนี้เพื่อปลูกข้าว ทำให้ชาวนาจาก สมุทรสาครและสมุทรสงครามอพยพมา และในช้วงเดียวกันนี้ได้มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำต่างๆช่วยถ่ายเทน้ำที่ขังและกลายเป็นทางคมนาคมขนข้าวเข้าสู่ตลาด

2.2 ภาคเหนือ
·         สนธิสัญญาเบาริ่งแทบไม่มีผลกระทบอะไรกับภาคเหนือเลย การเปิดประเทศในปี 1855 ที่ก่อเกิดการผลิตข้าวเพื่อขายในภาคกลางก็ไม่ได้เกิดผลทำนองเดียวกันในภาคเหนือ สาเหตุสำคัญคือความลำบากในการคมนาคม 
·         ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อสร้างทางรถไฟไปถึงภาคเหนือในปี 1916 รถไฟไปถึงลำปาง ปี 1922 ถึงเชียงใหม่ ทำให้เริ่มมีการผลิตข้าวเพื่อขายส่งรถไฟมากรุงเทพฯ เกิดโรงสีขึ้นใกล้กับสถานีรถไฟเชียงใหม่ ในปี 1925 ประมาณว่ามีข้าวจากภาคเหนือ 650,000 หาบลงมาขายกรุงเทพฯ คิดเป็น 5 % ของสินค้าออก ในปี1935 เพิ่มเป็น 1.3 ล้านหาบ หรือ 9% ของสินค้าออกข้าว ในปริมาณนี้ 35 % สีแล้วส่งมาเป็นข้าวสาร หมายความว่ากระบวนการผลิตข้าวเพื่อขายในภาคเหนือเริ่มจาก ทศวรรษ 1920 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามพบว่าการผลิตเพื่อขายกระจุกอยู่เพียงรอบเมืองเชียงใหม่เท่านั้น
·         การเก็บภาษีของรัฐที่เข้มงวดเช่น เกณฑ์แรงงาน ส่งส่วยผลผลิต ภาษีในการถือครองปัจจัยกรผลิตต่างๆ เป็นเงินตรา ทั้งที่นา ไร่ สวน เก็บภาษีในกระบวนการผลิต ขั้นตอนทางการค้า ภาษีค่าหัวแทนการเกณฑ์แรงงาน ฯลฯ เป็นการผลักดันชาวบ้านเข้าสู่การปลูกพืชเพื่อขาย[7]

2.3 ภาคอีสาน
·         การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้างเมื่อกรุงเทพฯ ทำทางรถไฟข้ามดงพญาเย็นถึงโคราชในปี 1900 ชาวจีนเข้าไปตั้งหลักแหล่งในอีสานแต่เปรียบเทียบกับในภาคกลางแล้วน้อยกว่ามาก ชาวจีนกระจุกตัวอยู่ในนครราชสีมาแล้วค่อยๆขยายไปยังจังหวัดที่สำคัญคือ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี โดยกระจุกที่ตัวเมือง ส่วนทางขอนแก่น ภูเขียว อุดรธานี เลย สกลนครนั้นเข้าไปภายหลัง กรณีทางรถไฟทำให้มีการผลิตข้าวเพื่อขายแถบนครราชสีมาและบริเวณใกล้เคียงบ้าง โดยำเลียงทางเรือและเกวียนมาใส่ฉางที่นครราชสีมาแล้วบรรทุกรถไฟมาขายกรุงเทพ ต่อมาเมื่อสร้างทางรถไฟขยายไปถึงจังหวัดบุรีรัมย์(1925) สุรินทร์(1926)และอุบลราชธานี(1930) พ่อค้าคนจีนก็ไปตั้งฉางรับซื้อข้าวอยู่ริมสถานีรถไฟ  นครราชสีมาเป็นตลาดข้าวใหญ่ที่รวมข้าว มีฉางเก็บและกักตุนเพื่อส่งรถไฟมากรุงเทพฯ มีโรงสีตั้งขึ้นหลายแห่ง นอกจากข้าวแล้วก็ไม่ได้มีการพัฒนาพืชเศรษฐกิจอื่นเลย ทั้งๆที่ดินไม่เหมาะแก่การปลูกข้าวนัก เพราะดินเค็มและรับน้ำไว้ไม่ค่อยได้
·         ขบถชาวนาในภาคอีสานครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางที่สุดและรุนแรงที่สุดด้วย ขบถชาวนาเกิดขึ้นเมื่อระบบการค้าและรัฐแทรกเข้าไป ครั้งสำคัญที่สุดคือ ขบถผู้มีบุญ (1901-1902) ตามมาด้วยขบถเจ้าผู้มีบุญหนองหมากแก้ว (1924) และขบถหมอลำน้อยชาดา (1936)แม้กระทั่งในปี 1959 ยังเกิดขบถ นายศิลา วงศ์สิน แสดงถึงความพยายามรักษาลักษณะการปกครองตนเองภายในและลักษณะพอยังชีพของหมู่บ้าน

2.4 ภาคใต้
·         สนธิสัญญาเบาริ่งและการเปิดประเทศแทบไม่มีผลกับชาวบ้านในภาคนี้ เมื่อพระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ทรงเขียนวิทยานิพนธ์ในปี 1907 พระองค์ระบุว่า ภาคใต้พื้นที่ในคาบสมุทรมลายูนั้นมีการปลูกข้าวกันน้อยมากมีการบรรทุกข้าวขึ้นเรือใบไปขายมลายูเป็นครั้งคราว แต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภูมิประเทศเป็นที่ราบแคบๆ ชายฝั่งขยายการเพาะปลูกข้าวไม่ได้มาก 
·         แม้การสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯไปถึงชายแดนภาคใต้และมีรถไฟวิ่งถึงไบร์เพื่อต่อไปปีนังในปี 1922 ก็ไม่ได้ทำให้มีการขนข้าวมาขายกรุงเทพ
·         ต่อมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 การผลิตข้าวขยายตัวแถบจังหวัด นครศรีธรรมราชและพัทลุง ซึ่งเป็นที่ราบ โดยเฉพาะอำเภอปากพนัง หัวไทรและเชียรใหญ่ มีโรงสีเกิดขึ้นหลายโรง ส่งข้าวไปขาย มลายู
·         ศาสตราจารย์ซิมเมอร์แมนรายงานการสำรวจในปี 1930 ว่าเพียง 20 % ของข้าวที่ผลิตได้ในภาคใต้ส่งออกขาย
3.   พันธุ์ข้าวและเทคโนโลยีในการผลิต[8]

·         ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทยเดิมมีจำนวนมหาศาล ไม่น้อยกว่า 100,000 สายพันธุ์ เช่น เจ็กเชย หอมสามเดือน ข้าวฮ้าว เสาไห้ เม็ดมะเขือ พระยาชม ขาวตาแพ ขาวดอกมะลิ มะลิหอม ฯลฯ ปัจจุบันสูญหายไปแทบหมดสิ้น
·         เมื่อตั้งสถานีทดลองข้าวในปี 2450 พันธุ์ข้าวที่เป็น พระเอกในช่วงนี้คือ ข้าวที่มีต้นสูงและไวต่อช่วงแสง (ข้าวนาปี)
·         เมื่อถึงปี 2492 พันธุ์ข้าวใหม่อื่นๆก็ออกมา เช่น พันธุ์ปิ่นแก้ว เหลืองอ่อน นางนวล ขาวภูดาษ น้ำดอกไม้ พวงนาค บางพระ
·         ปี 2507 ข้าวพันธุ์ มหัศจรรย์จากแปลงทดลองของอีรี่ซึ่งมีชื่อว่า IR8 ซึ่งนอกจากต้นเตี้ย โตไว แตกดอกออกช่อมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองแล้ว ยังไม่ไวต่อแสง หรือปลูกได้ตลอดปีอีกด้วย แต่คุณภาพเมล็ดไม่ดี ชาวนาไทยไม่นิยมปลูก
·         นักวิชาการด้านข้าวของไทยจึงนำ IR8 ไปผสมกับข้าวพื้นเมืองพันธุ์ดีของไทย นอกจากได้ผลผลิตเพิ่มแล้ว ยังให้คุณภาพของเมล็ดที่ดีขึ้น นี่เป็นที่มาของข้าวพันธุ์ กข. ต่างๆ ที่ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2521 (กข. ย่อมาจาก กรมการข้าว เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวิจัยค้นหาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ) เช่น  กข.6  กข.15
·         ต่อมาเปลี่ยนมาใช้ชื่อสถานีทดลองข้าวนำหน้าชื่อสายพันธุ์ เช่น ข้าวปทุมธานี 1 ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 สันป่าตอง 1  เป็นต้น
·         ต่อมามี กองขยายพันธุ์พืชผลิตข้าวต่างๆ เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวเหลืองปะทิว ฯลฯ(ไม่รู้ที่มากองขยายพันธุ์พืช)
·         ข้าวพันธุ์ใหม่ มีลำต้นเตี้ยจึงเหมาะจะปลูกในการทำนาครั้งที่สอง หรือ ข้าวนาปรังซึ่งเริ่มแพร่หลายในอาณาบริเวณภาคกลางที่สามารถทดน้ำจากเขื่อนชลประทานต่างๆมาใช้ได้
·         แต่ข้าวพันธุ์ใหม่เหล่านี้ต้องใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอันเกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ เช่น ปุ๋ยเคมี เครื่องพ่นยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ มิฉะนั้นจะไม่ได้ผล
·         การระบาดของแมลงซึ่งเพิ่มพูนขึ้นตามเกษตรกรรมแผนใหม่ดังกล่าว เฉพาะในนาข้าวมีเป็น 100 ชนิด
·         ปัจจุบันเกษตรกรผลิตข้าวทั้งประเทศ 60 ล้านไร่(2546) ปีหนึ่งๆคาดว่าใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปีละ 900,000 ตันต่อปี ในขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตรผลิตข้าวได้ปีละประมาณ 50,000 ตันต่อปี ส่วนต่างกว่า 800,000 ตัน เป็นเม็ดพันธุ์ที่เกษตรกรเก็บรักษาไว้เอง มีทั้งพันธุ์พื้นบ้านและเม็ดพันธุ์ที่ปรับปรุงจากหน่วยงานรัฐ[9]
·         กลุ่มธุรกิจการเกษตรเริ่มรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว ในขณะเดียวกันมีการผลักดันให้มีการประกาศคุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะทำให้บริษัทเมล็ดพันธุ์สามารถผูกขาดได้ทั้งหมด โดยราคาเม็ดพันธุ์ผสมจะมีราคาสูงขึ้น ตั้งแต่ร้อยละ 50 จนถึงแพงขึ้นหลายเท่าตัว แล้วแต่ระดับของการผูกขาด
·         ราคาเมล็ดพันธุ์ที่ต่างกัน เช่น  ปทุมธานี1 ตราใบโพธิ์ 420 บาท/ถุง(20กิโลกรัม) ปทุมธานี1 กองขายพันธุ์พืช 300 บาท/ถุง  หอมมะลิ 105 ตราใบโพธิ์ 420 บาท/ถุง ขาวดอกมะลิ 105 กองขยายพันธุ์พืช 318.75 บาท/ถุง
·         ปกติสามารถแบ่งข้าวเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1. นุ่มเหนียว อย่างหอมมะลิ  2. นุ่มปานกลางแต่ไม่เหนียว อย่างขาวตาแห้ง(ที่ทานทั่วไปตามร้านข้าวแกง) 3. ร่วนแข็ง เรียกว่าข้าวเสาไห้ (นิยมมากในภาคใต้)
·         ตัวอย่างพื้นที่การปลูกข้าว
1.    พื้นที่นาภูเขา หรือข้าวไร่ เป็นการปลูกข้าวในพื้นที่สูง สภาพทั่วไปหนาวเย็น ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวไร่ที่ทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีด้วยการอาศัยน้ำฝน น้ำค้าง และความชื้นในดินเท่านั้น พบมากในภาคเหนือและอีสาน
2.    นาทุ่ง ในอดีตเคยเป็นทุ่งหญ้ากว้าง มีต้นไม้ใหญ่อยู่น้อย ระดับพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบเสมอกัน ไม่มีน้ำขัง จึงมีความแห้งแล้งอยู่มาก ยกเว้นบริเวณที่มีหนองบึง ต่อมาถูกบุกเบิกเป็นพื้นที่ทำนา เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้
3.    นาทาม(ภาษาอีสาน) เป็นนาอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำลักษณะหนึ่งอยู่ริมแม่น้ำ และน้ำจะไหลบ่าท่วมพื้นที่ทุกปีในฤดูน้ำหลาก ดินมีตะกอนอินทรีย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไถพรวน พันธุ์ข้าวต้องมีลักษณะพิเศษ คือสามารถยืดต้นสูงตามทระดับน้ำได้
·         ช่วงเวลาการทำนา
1.    นาปี ทำในหน้าฝน ข้าวที่มีต้นสูงและไวต่อช่วงแสง
2.    นาปรัง ทำนาครั้งที่ 2 ข้าวพันธุ์ใหม่ มีลำต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง
·         ลักษณะการทำนา
1.    นาดำ หว่านกล้า แล้วจึงนำต้นกล้ามาปักดำเป็นกอ
2.    นาหว่าน ไถแล้วหว่านรอต้นข้าวออกรวง
3.    นาภูเขา พรวนดิน เอาเมล็ดข้าวหยอดหลุม

4.   ปัญหาเรื่องข้าว

4.1 ปัจจัยการผลิต

ที่ดิน[10]
·         ไม่มีที่ดินทำกิน หรือที่ดินทำกินไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาค่าเช่านา ที่ต้องเช่าที่จากเจ้านาในราคาสูงมาก
·         ปัญหาค่าเช่านาทำให้เกิดขบวนการต่อสู้เรื่องค่าเช่านา เช่น สหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ จนสามารถผลักดันกฎหมายควบคุมค่าเช่านาได้สำเร็จในปี 2518 แต่กฎหมายไม่ได้นำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะถูกต่อต้านจากเจ้านาที่สูญเสียผลประโยชน์
·         ก่อนหน้านั้นในปี 2493 รัฐบาลสมัยนั้นได้ออกกฎหมายควบคุมค่าเช่านา โดยกำหนดให้มีการเก็บค่าเช่านาเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 25 % ของผลผลิต แต่ก็ไม่มีผลในทางปฏิบัตินัก ต่อมาในปี2497 ได้มีการอกก พรบ.จัดสรรที่ดินเพื่อความเป็นธรรมของสังคมปี 2497 โดยมีเป้าหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ถูกฉ้อโกงที่ดินได้มีโอกาสในการเรียกร้องที่ดินของตนคืนมา แต่กฎหมายนี้ก็มีผลบังคับใช้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะศาลฎีกาตีความว่าขัดกับรัฐธรรมนูญที่ใช้ในขณะนั้น ในปีเดียวกันนี้ รัฐบาลโดยการนำของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ตราพรบ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินปี 2497 อันเป็นความพยายามที่จะจำกัดการถือครองที่ดินของเอกชน โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อครบ 7 ปี แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำรัฐประหารและออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 (ลงวันที่ 13 .. 2503) ยกเลิกการจำกัดขนาดการถือครองที่ดินดังกล่าว[11]
·         ความไม่มั่นคงในการถือครองที่ดิน เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่ได้ทำกินหรืออาศัยที่ดินของตนมาเป็นเวลานาน แต่ไม่ได้รับการรับรองสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย โดยรัฐอ้างว่า เป็นที่ดินของทางราชการ
·         ระบบกรรมสิทธิ์เอกชนทำใช้ชาวนาไม่สามารถจัดการปัญหาที่ดินที่เกิดขึ้นในระดับชุมชนได้
·         ในภาคเหนือมีการสูญเสียสิทธิในที่ดินจากการอ้างอำนาจของเจ้า เช่นการย่ำนา (การที่เจ้าผู้ครองเมืองขี่ช้างออกไปย่ำในที่นาของชาวบ้าน หรือปล่อยช้างออกไปหากิน ย่ำที่นาชาวบ้านเสียหาย แล้วก็อ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของที่นานั้นๆ เมื่อล้านนาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ทำให้เจ้าภาคเหนือสูญเสียผลประโยชน์ในการเก็บส่วยและภาษี จึงหันมาแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นเจ้าของที่ดินและเกฃ็บค่าเช่าที่ดินจากชาวนา
·         กรสูญเสียที่ดินจากการเป็นหนี้สิน ในยุคที่เริ่มมีการปลูกเพื่อขาย แต่ชาวนามีทุนในการผลิตน้อย เมื่อได้ผลผลิต ก็ต้องเผชิญกับภาวะราคาข้าวตกต่ำ ต้องกู้ยืมเงิน จนเป็นหนี้สินทับถมและต้องสูญเสียที่นาไป
·         ที่ดินคุณภาพต่ำ เช่นการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร โดยเฉพาะในเขตที่ราบสูง ดินเค็ม ไม่อุ้มน้ำในภาคอีสาน 
·         ความเสื่อมโทรมของดินที่เกิดจากการเกษตรเชิงพาณิชย์ ที่มีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น ต้องใช้สารบำรุงดินมาก มีผลให้ดินเสื่อมและต้องใช้สารบำรุงดินมากขึ้นอีก ชาวนาก็ต้องใช้ทุนมากขึ้น
·         สูญเสียที่ดินในการทำการเกษตร เช่นภาคกลางที่เป็นพื้นที่ทำนาที่ดีที่สุด มีการลงทุนระบบชลประทานจำนวนมาก ได้กลายเป็นพื้นที่ก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการขยายตัวของเมืองที่ไม่มีการวางแผนที่ดี

น้ำ[12]
·         เดิมชาวนามีระบบจัดการน้ำของแต่ละท้องถิ่นที่พอเพียง เช่น ระบบเหมืองฝายในภาคเหนือ
·         รัฐเข้ามาพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อตอบสนองการเพาะปลูกเพื่อขาย โดยพัฒนาพื้นที่ที่ให้ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาคกลาง เมื่อมีแรงผลักดันทางสังคมและการเมืองมากขึ้น จึงเริ่มพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะภาคอีสานและเหนือ โดยพิจารณาพื้นที่ที่ให้ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจสูงกว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาแหล่งน้ำ
·         ระบบดังกล่าวได้สร้างปัญหาการจัดการน้ำจากภาครัฐ เมื่อความต้องการใช้น้ำเพื่อการผลิตภาคอื่นๆ เช่นอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการเมืองสูงกว่าภาคชนบท ทำให้ระบบการพัฒนาแหล่งน้ำและจัดสรรน้ำเปลี่ยนแปลงมาสู่ภาคการผลิตเหล่านี้ เช่น ระบบการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งของกรมชลประทานจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ จะให้ความสำคัญกับพื้นที่ทำนาปรังของโครงการเจ้าพระยาใหญ่เป็นอันดับหลังสุดโดยให้ความสำคัญกับน้ำประปาในเขตเมืองใหญ่และภาคอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก
·         ความซับซ้อนของปัญหาเริ่มมากขึ้น เมื่อรัฐเริ่มแปรรูประบบจัดการน้ำเพื่อกิจการประปาในเขตภาคตะวันออก โดยเริ่มขึ้นในปี 2535 พร้อมกับออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในการที่เคยอยู่ภายใต้การจัดการของรัฐวิสาหกิจ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน แนวทางนี้ได้รับกรสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ไ้แก่ ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย การประปาส่วนภูมิภาคได้จัดตั้ง บริษัทจัดกรและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกหรือ บริษัท อีสต์ วอเตอร์ ในปี 2535 เพื่อรับผิดชอบในกรจำหน่ายน้ำดิบ รวมทั้งให้เอกชนเข้ามาดำเนินการผลิตและจำหน่าย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีปัญหาขาดน้ำรุนแรงในภาคตะวันออก ในขณะที่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทอีสต์ วอเตอร์ทำสัญญาซื้อน้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน จำนวนมหาศาล ต่อมาบริษัทประสบกับปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำ บริษัทจึงพัฒนาโครงข่ายท่อส่งน้ำ ผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ นอกจากนี้บริษัทยังมีอำนาจการตัดสินใจว่าจะจัดสรรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำรายใด โดยใช้ผลกำไรเป็นการตัดสินใจ ดังนั้นประชาชนในพื้นที่ที่อ่างเก็บน้ำตั้งอยู่ เพื่อใช้ในการเกษตรกลับไม่มีสิทธิ์ใช้น้ำ หรือตัดสินใจว่าควรจะใช้น้ำในอ่างอย่างไร

ปุ๋ย[13]
·         เดิมชาวนาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นขี้วัว ขี้ควาย แต่เมื่อปลูกเพื่อขายต้องใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นทำให้ดินเสื่อม จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก
·         ปุ๋ยเคมีที่ใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีผู้นำเข้ารายใหญ่ไม่กี่ราย กลุ่มเหล่านี้เป็นผู้กำหนดราคาปุ๋ย
·         เดิมในอดีตมีการผลิตปุ๋ยโดย บริษัทปุ๋ยเคมี(2506) ซึ่งรัฐบาลถือหุ้น ร้อยละ 49.9 บริษัทนี้ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ และบริษัทนี้ก็ขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เริ่มตั้ง เนื่องจากบริษัทไม่มีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายสูงอย่างไม่มีเหตุผล และขึ้นราคาปุ๋ยเรื่อยๆ จึงกลายเป็นบริษัทนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศมาขาย โดยผูกขาดการนำเข้าปุ๋ยยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟตแต่เพียงผู้เดียว โดยอ้างว่าเพื่อสนองความต้องการให้เพียงพอ จากนั้นก็นำเอกสิทธิ์นี้ไปให้ บริษัทศรีกรุงวัฒนา ปล่อยให้บริษัทนี้นำเข้าและกำหนดราคาแต่เพียงผู้เดียว
·         ปี 2516 เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันราคาแพง ปุ๋ยเคมีราคาขึ้นมาก รัฐบาลจึงยกเลิกการผูกขาด เปิดให้มีการนำเข้าปุ๋ยอย่างเสรี
·         บริษัทศรีกรุงวัฒนาจึงร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ จัดตั้ง บริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีขึ้นเพื่อผลิตปุ๋ยในประเทศ โดยนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่น แสวงหากำไรอย่างเต็มที่เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษี(บริษัทศรีกรุงวัฒนามีกรรมการที่ใกล้ชิดกับผู้มรอำนาจในยุคก่อน 14 ตุลาคม 2516)
·         18 ตุลาคม 2518 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยกรพัฒนาอุตสาหกรรมปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช จนเกิดโครงการปุ๋ยแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก[14]
 
·         บริษัทปุ๋ยแห่งชาติเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลและ เอกชน มีการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่คือประมาณ 25% มีหน้าที่ส่งก๊าซธรรมชาติอันเป็นวัตถุดิบสำคัญมาป้อนโรงงาน(ไม่แน่ใจว่าโครงการนี้สำเร็จหรือไม่ ไม่มีข้อมูล)
·         ปี2521 รัฐบาลสั่งเก็บภาษีปุ๋ยนำเข้าอีกร้อยละ 20 ราคาปุ๋ยแพงขึ้น

เมล็ดพันธุ์[15]
·         แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1.    เมล็ดพืช (Grain) เป็นเมล็ดที่เกษตรกรคัดเก็บไว้ทำพันธุ์เอง
2.    เมล็ดพันธุ์ (Seed) เป็นเมล็ดที่ผลิตไว้ใช้ทำพันธุ์โดยเฉพาะ มีอีกชื่อว่า เมล็ดพันธุ์การพาณิชย์หรือเม็ดพันธุ์ขยาย (Commercial or Certified Seed) เมล็ดเหล่านี้ต้องพิถีพิถันมากกว่าแบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1 เมล็ดพันธุ์แท้(Pure Line) เป็นเมล็ดที่ได้จากการ แพ้คัดออกจนกระทั่งได้ลักษณะประจำพันธุ์ ไม่กลายนัก แต่มีจุดอ่อนที่ติดโรคง่ายหรือไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
2.2 เมล็ดพันธุ์ผสมพิเศษ(Hybrid) นำเมล็ดพันธุ์แท้ที่ต่างกันหลายๆพันธุ์ ผสมเพื่อหาพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติดีกว่าพันธุ์เดิม
·         ในปี 2526-2527 หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ สามามรถผลิตเมล็ดพันธุ์ดีได้ประมาณ 2,850 ตันข้าวเปลือก ขณะที่จากการประมาณกรของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(IFCT) เกษตรกรมีความต้องการถึง 32,557 ตัน
·         เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานราชการเพื่อขายในราคาอุดหนุน ให้ผลผลิตต่อไร่สูง แต่กลายพันธุ์ง่าย อ่อนแอต่อโรคและแมลง เวลาเพาะปลูกต้องดูแลเป็นพิเศษต้องใช้ เครื่องจักรกลการเกษตรต่างๆ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชและน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการของเมล็ดพันธุ์เหล่านั้น
·         เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดเหล่านี้เมื่อปลูกใหม่ทุกครั้ง
·         เกษตรกรต้องเสียค่าปัจจัยการผลิตข้างต้นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยและสารเคมีทำให้ดินและน้ำเสื่อมโทรม
·         การปรับปรุงพันธุ์ข้าวของอีรี่ มุ่งไปสู่การพัฒนาข้าวต้นเตี้ยที่อ่อนแอ ประสบการณ์ความเสียหายที่ชัดเจนที่สุดของอีรี่คือ การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทยเมื่อปี 2534-2535 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างน้อยหนึ่งหมื่นล้านบาท[16]

ยากำจัดและป้องกันศัตรูพืช[17]
·         อันเนื่องมาจากข้าวพันธุ์ใหม่ๆที่ไม่อดทน แมลงและศัตรูพืชต่างๆเช่น วัชพืช โรคพืช หรือสัตว์ต่างๆ ทำความเสียหายแก่ผลผลิตถึง 51.5%  ในช่วงปี  2521-2524 ศัตรูพืชเหล่านี้ได้สร้างความเสียหายแก่นาข้าวสูงถึง 4.5-8.6 ล้านไร่ คิดเป็น 11 %  ของที่ดินทำนาทั้งหมด
·         ผลที่ตามมาคือตัวเลขการสั่งยากำจัดและป้องกันศัตรูพืชที่เขยิบตัวสูงขึ้นทุกปี ในปี 2521นำเข้ายากำจัดและป้องกันศัตรูพืช 19,356 ตัน มูลค่า 827.35 ล้านบาท ปี 2525 เพิ่มขึ้นเป็น 1,285.19 ล้านบาท
·         ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น แต่รายได้ต่ำลง เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม

สถานการณ์การใช้สารเคมีเกษตรของประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณในการใช้สารเคมีมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค แต่ละปีประเทศไทยต้องนำเข้าสารเคมีการเกษตรมากถึงราว 3.5 ล้านตัน (2544) แยกเป็น ปุ๋ยประมาณ 3.3 ล้านตัน และสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอีก 60,543 ตัน
          ทุกปีคนไทยต้องจ่ายเงินสำหรับนำเข้าสารเคมีราว 30,000 ล้านบาท (2544) ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่มากเกือบเท่ารายได้การส่งออกข้าวของประเทศ (ปี 2544 ไทยส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่า 70,532 ล้านบาท) หรือเกือบเท่ารายได้การขายข้าวของชาวนาทั้งประเทศตลอดปี
          แนวโน้มการใช้สารเคมีเกษตรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรวมเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 4 เท่าในระยะเวลา 15 ปี  ปริมาณการใช้ปุ๋ย เพิ่มจาก 786,341 ตัน (2523) เป็น 3,313,313 ตัน (2538) ส่วนมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเพิ่มจาก 13,550 ล้านบาทในปี 2537 เป็น 20,463 ล้านบาทในปี 2544 (จากสถิติเท่าที่มีการรวบรวม)
          ด้านแนวโน้มการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชพบว่า เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2509 ไทยนำเข้าสารเคมีเหล่านี้เพียง 9,906 ตัน คิดเป็นเงิน 208.32 ล้านบาท เพิ่มเป็น 12,777 ตัน ในปี 2529(1,779 ล้านบาท) และล่าสุดในปี 2544 มากถึง 60,543 ตัน คิดเป็นเงิน 8,761 ล้านบาท
                                                ที่มา : จากเอกสารประกอบงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
                                          วันที่  7- 8 สิงหาคม 2546 ณ ศูนย์ไบเทค บางนา จัดโดย สวรส.


4.2        ปัญหาการขายข้าว
การขายข้าวเปลือกในไร่นา
·         ชาวนาส่วนใหญ่จะขายผลิตในไร่นาของตนเนื่องจาก
1.    มีความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้เงินหลังฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งเพื่อนำไปซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคและเป็นทุนในการเพาะปลูกในฤดูถัดไป
2.    เกษตรกรเป็นหนี้พ่อค้า ทำให้มีพันธะต้องขายผลผลิตให้พ่อค้าเจ้าหนี้แบบประจำ โดยพ่อค้าจะเข้าไปรับผลผลิตถึงไร่นา
3.    ผลผลิตแต่ละครัวเรือนมีไม่มากพอ เพราะที่ดินไม่มาก และผลผลิตต่อไร่ต่ำ
·         ชาวนาเกือบทั้งหมดยังขายข้าวแบบเหมาคละ ไม่มีการแบ่งแยกเกรด เพราะผลผลิตมีไม่มาก
·         เกษตรกรไม่ได้สังกัดองค์กรเกษตร ทำให้เป็นอุปสรรคในการรวมกลุ่มกันเพื่อให้มีผลิตมากพอขาย
·         ชาวนารับรู้ราคาผลผลิตจากพ่อค้าที่เข้าไปซื้อ เนื่องจากความจำกัดของแหล่งข่าวสารที่จะใช้ตรวจสอบราคาที่เป็นจริงในขณะนั้น(หนังสือเขียนปี2528 ตอนนี้เปลี่ยนไปรึเปล่าไม่รู้) และความรวดเร็วในการตรวจสอบข่าวสาร เป็นความเสียเปรียบของชาวนา และยังทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
·         มีชาวนาส่วนน้อยที่ติดต่อกับโรงสีโดยตรง โดยขนข้าวเปลือกมาขายที่โรงสี

พ่อค้าข้าวเปลือก
·         ในอดีตพ่อค้าคนกลางจะแลกเครื่องอุปโภคบริโภคกับชาวนาและซื้อข้าวโดยตรง โดยอาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางสัญจร พ่อค่าเหล่านี้มีวิธีผูกมัดชาวนา 2 วิธีคือ
1.    การตกข้าว คือการปล่อยเงินกู้ให้ชาวนา โดยชาวนาต้องมอบข้าวให้หลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งดำเนินการอย่างแพร่หลาย จนถึงกับต้องมีการออกกฎหมายห้ามมิให้ตกข้าวในปี 2420 (รัชกาลที่ 5)โดยหากชาวนาต้องการกู้ยืมก็ให้ใช้เงินทดแทนโดยคิดดอกเบี้ยชั่งละ 1 บาท แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเพราะยังมีการตกข้าวกันอยู่
2.    การปล่อยกู้เป็นเงินหรือสิ่งของ ชาวนาถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก หากใช้ที่นาเป็นประกันมักจะเสียที่นา
·         พ่อค้าที่รับซื้อข้าวเปลือกมี 3 ประเภท คือ
1.    พ่อค้าท้องที่ มักเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านที่มีฐานะดี ทำหน้าที่เป็นนายหน้าคอยติดต่อหาข้าวเปลือกป้อนโรงสี บางรายมีรถบรรทุกของตนเองกว้านซื้อข้าวไปขายนอกพื้นที่
2.    พ่อค้าจร เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเจ้าของรถกระบะหรือ 6 ล้อ เข้าไปกว้าานซื้อข้าวเพื่อนำไปขายให้โรงสีหรือพ่อค้าท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่กว่า
3.    พ่อค้าท้องถิ่น มักเป็นเจ้าของรถบรรทุกขนาดใหญ่ซึ่งตั้งจุดรับซื้อข้าวอยู่กับที่ หรือรับซื้อจากพ่อค้าจรและพ่อค้าท้องที่ พ่อค้ากลุ่มนี้มีทางเลือกหลายทาง เช่น ขายให้โรงสีที่มีอยู่หลายแห่ง หรือขนลงไปขายยังตลาดกลางข้าวเปลือกที่นครสวรรค์ เพื่อให้ตัวแทนโรงสีมาประมูล
โรงสี
·         เมื่อเปรียบเทียบกับพ่อค่ารับซื้อข้าวเปลือกแล้ว โรงสีมักเสียเปรียบเพราะแย่งซื้อสู้พ่อค้าไ่ได้ บางครั้งต้องหาทางลดความเดือดร้อนของตนโดยการปลอมปนข้าว
·         มีเพียงโรงสีขนาดเล็กและกลางเท่านั้นที่รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา โรงสีขนาดใหญ่จะรับซื้อจากพ่อค้าเท่านั้น
·         การที่พ่อค่ารับซื้อข้าวเปลือกดำรงฐานะเข้มแข็งกว่าอาจเนื่องมาจากสาเหตุ 3 ประการ คือ
1.    พ่อค้าข้าวเปลือกมีเครื่องมือที่จะผูกมัดให้ชาวนามาขายข้าวให้ตน เช่นการตกข้าวหรือปล่อยเงินกู้
2.    พ่อค้ามีความคล่องตัวและชำนาญในการซื้อข้าวจากชาวนามากกว่า เพราะไม่ต้องพะวงกับกิจการสีข้าวเหมือนโรงสี
3.    พ่อค้าข้าวเปลือกมีข่าวสารทางการตลาดมากกว่า
·         โดยรวมผู้ที่ได้เปรียบมากที่สุดคือพ่อค้าข้าวเปลือกและโรงสี ในขณะที่ชาวนาจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากที่สุดเนื่องจากมีทางเลือกจำกัดในการขายผลผลิต
·         นอกจากนี้ชาวนาไม่มียานาพนะเป็นของตนเองต้องรอพ่อค้าเข้าไปซื้อถึงที่

หยง
·         หยงคือนายหน้า ทำหน้าที่ขายผลผลิตให้พ่อค้าในกรุงเทพ แทนพ่อค้าท้องถิ่น โดยได้รับค่านายหน้าตอบแทน คิดเป็น เปอร์เซ็น จึงต้องรักษาผลประโยชน์ในการเจรจาต่อรองขายให้ได้ราคาดีขึ้น
·         หยงต้องทำหน้าที่เสาะแสวงข่าวสารการตลาด โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของราคา
·         หยงเป็นตัวแทนให้พ่อค้าหรือโรงสีท้องถิ่น เช่นขนส่งสินค้า ต่อรองรักษาผลประโยชน์ในด้าน ชั่ว ตวง วัด และมาตรฐานของผลผลิตแก่ลูกค้าของตน รวมถึงการเก็บเงินจากผู้ซื้อ
·         พ่อค้าท้องถิ่นจะติดต่อกับหยงเจ้าประจำ 2-3 รายเพื่อตรวจสอบ


ราคาส่งออก
·         ข้าวเป็นสินค้าที่ประเทศไทยไม่มีอำนาจในการต่อรองราคาในตลาดต่างประเทศมากนัก เนื่องจากมีคู่แข่งจากหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา พม่า ปากีสถาน ฯลฯ
·         ประเทศผู้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักจำนวนมากซึ่งเป็นลูกค้า เป็นประเทศยากจนที่มีอำนาจในการซื้อต่ำ ส่งผลให้ราคาข้าวที่ขายได้ถดถอยลงด้วย
·         มีการผูกขาดการส่งออก กล่าวคือผู้ส่งออก 10 อันดับแรกมีปริมาณรวมกันร้อยละ 50.84

นโยบายรัฐ[18]
·         แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 มีนโยบายส่งส่งเกษตรเชิงพาณิชย์ จัดตั้งหน่วยงานระดับ กระทรวง ทบวง กรม เพื่อส่งเสริมการเกษตร
·         เก็บภาษีต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมส่งออก อากรส่งออก โควต้าสำรองข้าว รายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออกข้าวตั้งแต่ปร 2498-2529 รวมทั้งหมดประมาณ 30,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีภาษีนำเข้าปัจจัยการผลิตต่างๆ
·         จัดสรรงบประมาณไม่เป็นธรรม ในแต่ละปีรัฐมีรายได้จากภาคเกษตรจำนวนมาก เช่นในปี 2542-2543 มูลค่ารวมถึง 550,166.30 ล้านบาท แต่งบประมาณกลับไปกระจุกที่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ
·         แต่ละปีเมื่อมีปัญหาการชุมนุมของเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ รัฐไม่มีนโยบายที่ชัดเจนนอกจากการประกันราคาเป็นครั้งคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
·         นโยบายและ มาตรการข้าวปี 2542-2543 ประกอบด้วยมาตรการสนับสนุนตลาดข้าวสารและข้าวเปลือกโดยหาตลาดส่งออกจำนวน 750,000 ตัน ส่วนในประเทศได้ให้องค์กรคลังสินค้า (...)และองค์กรตลาดเพื่อเกษตรกร(...) เข้าแทรกแซงตลาดข้าวสารจำนวน 500,000 ตัน ในส่วนตลาดข้าวเปลือก ให้ ธ... รับจำนำในราคาร้อยละ 95  และมาตรการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำที่ให้กูยืมแก่โรงสี
·         ... ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวนาได้ การจัดชั้นลูกค้าผลักดันชาวนาให้หาเงินนอกระบบมาจ่ายเพื่อรักษาระดับชั้นดีไว้เพื่อไม่ให้เสียดอกเบี้ยอัตราสูงขึ้น การปล่อยกู้หลายบัญชี ทำให้ชาวนามีหนี้สินสูงขึ้นทวีคูณ และโครงการสหกรณ์การเกษตรเพื่อตลาดลูกค้าธ... (...) กำหนดให้ชาวนาต้องรับปัจจัยการผลิตจาก ส... บางกรณีเกษตรกรไม่ต้องการก็ต้องรับและหักไปจากเงินที่ขอกู้ ทำให้ได้เงินไม่ครบ และในหลายพื้นที่ปัจจัยการผลิตต่ำกว่ามาตรฐาน
·         นโยบายการเปิดเสรีโดยที่ชาวนาไม่พร้อม ในปี 2538 การประชุมของ WTO ว่าด้วยข้อตกลงการเปิดเสรีการเกษตรหรือ AOA มีสาระสำคัญ3 ประเด็นคือ
1.    เปิดตลาดเสรี อนุญาตให้สินค้าเกษตรต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายโดยไม่มีการกีดกัน เช่นการตั้งกำแพงภาษี การเก็บภาษีนำเข้า การเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ หรือการกำหนดโควต้านำเข้า ในสินค้าเกษตร 23 รายการและข้าวสินค้าอันดับแรก
2.    ลดการอุดหนุนในประเทศ เช่นการแทรกแซงราคา การรับจำนำสินค้าเกษตร การให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต
3.    ลดการอุดหนุนการส่งออก

การแย่งชิงพันธุ์ข้าว[19]
·         2 กันยายน 2540 สำนักงานสิทธิบัตรอเมริกาได้ให้สิทธิบัตรแก่ บริษัทไรซ์เทค (RiceTech Inc.) ในข้าวพันธุ์บัสมาติ ทั้งๆที่ข้าวบัสมาติเป็นพันธุ์ที่รู้จักกันมานานว่าเป็นพันธุ์ข้าวหอมเก่าของอินเดีย ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลก พร้อมๆกันนั้น ไรซ์เทคยังได้จดเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับข้าวหอมเอเชียใน 3 ชื่อคือ จัสมาติ(Jasmati) เท็กซ์มาติ(Texmati)และคัสมาติ(Kasmati) ไปพร้อมๆกันด้วย
·         ในแพคเกจข้าวจัสมาตินั้นเขียนข้อความว่า จัสมาติคือข้าวหอมมะลิที่ปลูกในเท็กซัส เป็นการเลียนแบบข้าวหอมมะลิไทย
·         ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 พระบาทสมเดฅ็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยกกรณี จัสมาติ ขึ้นมาหารือกับอีรี่ด้วยความเป็นห่วงว่าผู้บริโภคจะเข้าใจผิด อีรี่แสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับการจดทะเบียนดังกล่าว
·         กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ดำเนินการคัดค้านต่อสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกาภายในเวลาที่กำหนด แต่ก็ยังมีช่องทางโดยการฟ้องร้องบริษัทไรซ์เทค ว่าเครื่องหมายการค้า จัสมาติ ทำให้เกิดความเข้าใจว่า อาจเป็นข้าวหอมกลิ่นดอกมะลิ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากประเทศไทย แต่กระทรวงพาณิชย์กลับไม่ได้ดำเนินการใดๆ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องออกมาให้สัมภาษณ์ว่าการฟ้องร้องเสียค่าใช้จ่ายแพงเกินไป และแก้ปัญหาโดยการจดเครื่องหมายการค้า หอมมะลิไรซ์ ที่คนทั่วโลกไม่รู้จัก แทนที่จะแย่งชิง ชื่อจัสมินไรซ์คืนมา
·         วันที่ 27 กันยายน 2544 สำนักข่าวรอยเตอร์ได้เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์นักวิจัยชาวอเมริกาชื่อ คริส เดเรน เกี่ยวกับ โครงการปรับปรุงข้าวหอมมะลิเพื่อปลูกในสหรัฐอเมริกาเพื่อพัฒนาข้าวหอมมะลิให้ปลูกได้ในสหรัฐและแข่งขันได้กับข้าวหอมมะลิของไทย โดยนำข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาฉายรังสีให้กลายพันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิที่ไม่ไวแสง ต้นเตี้ย ในอนาคตถ้าโครงการวิจัยประสบความสำเร็จ จะเกิดการแย่งชิงตลาดที่มีผลกระทบสูง เพราะข้าวหอมมะลิไทยขายได้ราคาสูงกว่าข้าวเมล็ดยาวมาตรฐานของอเมริกาถึง 40% หรือมากกว่า คิดเป็นเงินถึง 9,000 บาทต่อตัน

5.   ข้อเสนอและทางออก
·         สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ เสนอว่าปัญหามาจากนโยบายการเกษตรที่ผลักดันเข้าสู่การเกษตรเชิงพาณิชย์และนโยบายในการพัฒนาประเทศที่ขูดรีดเกษตรกร ทางออกคือ 1.ปลดหนี้เกษตรกร 2.จัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อการเกษตรของชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการและเป็นธรรม 3.จัดทำแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร
·         กลุ่มที่เกี่ยวข้องในเรื่อง เกษตรกรรมทางเลือก เช่นศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคม BIOTHAIฯลฯ เสนอเรื่องหลักเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและพอเพียง พัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่ตนเอง ไม่ใช่การพัฒนาพันธุ์ที่ใกล้เคียงที่สามารถปลูกได้ทุกที่

เท่าที่เห็น มีทางออกใหญ่ๆ 2 กลุ่มข้างบน คือเคลื่อนไหวแก้ไขนโยบายที่เกี่ยวข้องให้เกษตรพาณิชย์ไปได้ กับพวกเกษตรทางเลือกที่เน้น ยั่งยืน-พอเพียง ไม่แน่ใจว่าจะมีแนวอื่นอีกรึเปล่า

6.   ขบวนการชาวนา
  1. สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เป็นต้นกำเนิดการต่อสู้ภาคประชาชนรวมตัวกันในช่วง 2516-2519  ข้อเรียกร้อง 9 ข้อในเดือน พฤศจิกายน 2517
-       ให้รัฐบาลจัดที่นาทำกินให้แก่ชาวนาชาวไร่ที่ไม่มีที่ดินทำกินทันฤดูกาลทำนาปีนี้
-       ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการสอบสวนการสูญเสียที่ดินของชาวนาที่ถูกนายทุนฉ้อฉลไป
-       ให้รัฐบาลจัดที่ดินทำกินถาวรให้ชาวนาชาวไร่ที่ไม่มีที่ดินทำกิน
-       ให้ออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดิน
-       ให้ประกาศใช้ พ...ควบคุมค่าเช่านาปี 2493
-       ในกรณีที่นายทุนให้ชาวนาไถ่ถอนที่ดิน ให้รัฐบาลออกเองินให้ทั้งหมดและนำมาให้ชาวนาชาวไร่ซื้อหรือเช่าในราคายุติธรรม
-       ในกรณีชาวนาชาวไร่ได้ครอบครองทีสาธารณะเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไปให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
-       ในกรณีที่โครงการของรัฐจะก่อให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนแก่ชาวนาชาวไร่ และชาวนาชาวไร่ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ให้ระงับโครงการนั้น
-       ให้รัฐบาลระงับโครงการประกันราคาข้าวเปลือกไม่ต่ำกว่าเกวียนละ 3,000 บาท
  1. สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน (สกย..)เริ่มเคลื่อนไหวเรื่อง พ... สภาเกษตรกรแห่งชาติ ในปี 2529 และจัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2535 ครอบคลุม 19 จังหวัดในภาคอีสาน มีคณะกรรมการกลาง และคณะกรรมการในทุกระดับต่อสู้เรียกร้องในหลายประเด็นปัญหา เช่น ปัญหาผลกระทบจากนโยบายรัฐ ที่ดินทำกิน-ป่าไม้ ราคาผลผลิตตกต่ำ หนี้สินเกษตรกร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหาโครงสร้างกฎหมายและระเบียบราชการ ปัญหาด้านสวัสดิการสำหรับเกษตรกรฯลฯ ผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาหลายระดับ เช่น
-       มีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา
-       ปี2537 ธกส.พิจารณาผ่อนผันให้เลื่อนชำระหนี้จำนำข้าว
-       เสนอให้มีองค์กรประชาชนเป็นตัวแทนในคณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ
ฯลฯ
  1. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เกิดจากการรวมกลุ่มของเครือข่ายเกษตรกรในภาคเหนือ 8 องค์กร ประกอบด้วย
-       กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ(นกน.)
-       เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ(คกน.)
-       คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกร จ.เชียงราย (คปก.เชียงราย)
-       เครือข่ายสตรีชนบท เชียงราย-พะเยา(คสช.)
-       คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกร จ.พะเยา (คปก.พะเยา)
-       เครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำแม่มอก (คปม.)
-       เครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำแม่สอย(คมส.)
-       เครือข่ายป่าชุมชนแม่ถอด(คปถ.)
ร่วมแก้ไขปัญหาระดับนโยบาย ในประเด็นปัญหาหนี้สิน ราคาพืชผลทางการเกษตร ปัญหาที่ดิน ปัญหาการแย่งชิงน้ำและป่าไม้ ปัญหาองค์กรข้ามชาติที่มีผลต่อเกษตรกร ปัญหาชนเผ่าและชาติพันธุ์ ปัญหาโครงการรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปัญหาเหล้าพื้นบ้าน
  1. กลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกภาคเหนือ สรุปบทเรียนว่า เกษตรแผนใหม่ไม่ใช่ทางออกของเกษตรกรรายย่อย จัดตั้งเครือข่ายขึ้นและ ขยายกิจกรรมที่ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตัวเองได้
  2. สมัชชาคนจน รวมตัวกันจากเครือข่ายคนจนทั่วประเทศ  ติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อ
7.   สรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติข้าวแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ให้จัดตั้งสำนักงานข้าวแห่งชาติ โดยมุ่งหมายให้เป็นองค์กรที่ดูแลเบ็ดเสร็จเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาข้าว และชาวนา กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์จึงจัดให้มีการร่าง พ...ฉบับนี้เพื่อประกอบการจัดตั้งและบริหารจัดการสำนักงานข้าวแห่งชาติ มีหลักการสำคัญดังนี้
1.    จัดให้มีองค์กรรับผิดชอบการพัฒนาข้าวและชาวนาแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร มีอำนาจตั้งแต่การผลิต การแปรรูปไปจนถึงการตลาด
2.    สำนักงานข้าวแห่งชาติ มีลักษณะเป็นหน่วยงานราชการแต่มีการบริหารในรูปแบบพิเศษ คือสามารถมีเงินกองทุนเพื่อการบริหารงานเป็นของตนเอง มีระเบียบเบิกจ่ายได้คล่องตัวมากขึ้น
3.    กองทุนมาจากหลายแห่ง แต่ที่สำคัญคือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการนำเข้าหรือส่งออกข้าว
4.    ให้มีสำนักงานข้าวจังหวัดได้ตามความจำเป็น
5.    มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายพัฒนาข้าวที่มาจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกสาขา คือกำหนดให้มีคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ และมีคณะกรรมการระดับจังหวัด
6.    ให้สิทธิพิเศษและความช่วยเหลือแก่ชาวนา ผู้ประกอบธุรกิจข้าว ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าว ที่ขึ้นทะเบียนกับทางราชการ
7.    เน้นด้านกำหนดเขตส่งเสริมการปลูกข้าวพันธ์ดี (Zoning) เพื่อความมีประสิทธิภาพในการผลิตข้าว
8.    มีการออกใบรับรองมาตรฐานข้าว เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงด้านการตลาดข้าว
9.    สร้างความเป็นธรรมแก่กระบวนการขายข้าวเปลือก โดยจัดให้มีเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพข้าว และกำหนดให้ซื้อขายข้าวตามมาตรฐานที่กำหนด
10. ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบรังวัดพื้นที่นา ซึ่งผู้ขัดขวางมีโทษ รวมทั้งผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกโดยชอบ
11. ผู้ที่หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับเป็นกองทุน มีโทษปรับ
12. มีบทเฉพาะกาลให้โอนหน่วยงานา ทรัพย์สิน อำนาจหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร และจากกรมส่งเสริมการเกษตรไปเป็นสำนักงานข้าวแห่งชาติ และกำหนดระยะเวลาด้านการจัดองค์กรต่างๆ


8.   รายชื่อองค์กรที่เคลื่อนไหวเรื่องข้าว
  1. ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน  86 .ลาดพร้าว 110(สนธิวัฒนา2) .ลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
  2. คณะทำงานพันธุกรรมพื้นบ้านอีสาน
  3. องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย(BIOTHAI)
  4. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
  5. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
  6. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
  7. สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน




[1] ฉัตรทิพย์ นาถสุภา,”ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย “ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2543
[2] สมภพ มานะรังสรรค์ .“เศรษฐกิจชนบทไทย : วิถีการผลิตและการตลาดของภาคเกษตรกรรมไทยในปัจจุบัน : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2528
[3] วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นิรมล ยุวนบุณย์ , “หอมกลิ่นข้าวมะลิหอม” : องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพแลภูมิปัญญาไทย 2545
[4] จิตติมา ผลเสวก อารีวรรณ คูสันเทียะ, “ข้าวพื้นบ้าน เชื้อพันธุ์แผ่นดินอีสาน : ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน 2546
[5] วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นิรมล ยุวนบุณย์ 2545
[6] ฉัตรทิพย์ นาถสุภา 2543
[7]สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, “เสียงเกษตรกร ปลดพันธนาการเกษตรกรรายย่อย” : 2544
[8] เศรษฐสยาม,”จากท้องนาถึงหอคอยงาช้าง”:สำนักพิมพ์พี.พี. 2522
[9] จิตติมา ผลเสวก อารีวรรณ คูสันเทียะ 2546
[10] สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ 2544
[11] สมภพ มานะรังสรรค์ ,”เศรษฐกิจชนบทไทย:วิถีการผลิตและการตลาดของภาคเกษตรกรรมไทยปัจจุบัน” : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2528
[12] สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ 2544
[13] เศรษฐสยาม,”จากท้องนาถึงหอคอยงาช้าง”:สำนักพิมพ์พี.พี. 2522
[14] สมภพ มานะรังสรรค์ 2528
[15] สมภพ มานะรังสรรค์ 2528
[16] วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นิรมล ยุวนบุณย์ 2545 
[17] สมภพ มานะรังสรรค์ 2528
[18] สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ 2544
[19] วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นิรมล ยุวนบุณย์ 2545