สำนัก

โดย
สำนักการกระจายอำนาจและปกครองตนเอง(กอ-ปอ)
Decentralization & Local Autonomy Agency(DLA)

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

เราควรทำอะไร ในสถานการณ์หลังเพื่อไทยเป็นรัฐบาล?ตอนที่ 2

ข้อปรึกษาหารือเบื้องต้น
เรื่อง เราควรทำอะไร ในสถานการณ์หลังเพื่อไทยเป็นรัฐบาล?
ตอนที่ 2 : การถูกโจมตีรายวันจากฝ่ายขวา

หม่อมแม่

จากตอนที่ 1 เรื่องการมุ่งจัดการ 4 เงื่อนไขที่ค้ำยันอำนาจเผด็จการอำมาตย์+ทุนซากเดนศักดินาไปแล้ว ในตอนนี้จะขอปรึกษาเรื่อง เราจะทำยังไงกับการโจมตีรายวันของฝ่ายขวา ตามนี้ค่ะ


ฝ่ายขวาใช้กลยุทธ์โจมตีรายวันเพื่อรอพลิกฟื้นอำนาจ
ในขณะนี้ ฝ่ายขวาพยามยามทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายฝ่าย ปชต.อยู่ตลอดเวลา ทุกเรื่อง ทุกชั่วโมง ทุกวัน ทุกเม็ด ทุกการเคลื่อนไหว ตั้งแต่เรื่อง คดีให้การเท็จของยิ่งลักษณ์, แกล้งให้เสียหน้าพิธีรับใบแต่งตั้งนายกฯพร้อมประกาศเป็นนัยว่าสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้มีอำนาจสูงสุดนะโว้ย, ทักษิณไปญี่ปุ่น,         นโยบายการลดราคาน้ำมัน, การขึ้นค่าแรง, การจำนำข้าว, การแจก Tablet  แก่นักเรียน, การแต่งตั้งเสื้อแดงเป็นข้าราชการการเมือง, การปรับผังรายการทีวีช่อง 11, การโยกย้ายและแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง,        การแก้รัฐธรรมนูญ – แม้แต่ประเด็นเรื่องค่าอาหารทีมงานนายกฯ - ประมาณว่า นโยบายของเพื่อไทยทุกอย่างแม่งเลวหมด บ้านเมืองจะต้องล่มจมชิบหาย แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ธรณีจะสูบ เผ่าพันธุ์จะสูญสิ้น .สำหรับกลยุทธ์โจมตีรายวันของฝ่ายขวาแบบนี้ ข้าพเจ้าเองคิดว่า นี่คงไม่ใช่เป็นรูปแบบการรบของพวกมัน แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นวิธีรบที่ทำให้ฝ่าย ปชต.ไม่มีเวลาตั้งตัว และต้องมาเสียเวลากับพวกมันรายวัน เพื่อพวกมันจะได้มีเวลาเตรียมสะสมกำลังพลิกฟื้นเพื่อทำสงครามแตกหักครั้งใหญ่อย่างแน่นอน  - ในขณะที่เราจะไม่สนใจการโจมตีรายวันของพวกมันเลยก็เป็นไปไม่ได้ เช่นกัน

ฝ่าย ปชต.อย่าประมาทต่อกลยุทธ์โจมตีรายวันของฝ่ายขวา
การเคลื่อนไหวโจมตีรายวันแบบนี้ ฝ่ายปชต.จะประมาทไม่ได้เด็ดขาด เพราะ ก่อน 19 กันยา 49 พวกมันก็ใช้วิธีนี้อย่างได้ผล – ด้วยวิธีการเอาเรื่องรูปธรรมที่มีข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งมาบิดเบือนผสมกับเรื่องโกหกและใส่ตรรกะห่วยแตกกวนตีนเข้าไป(ที่เราคิดว่าเป็นตรรกะแบบโง่ๆ-แต่มันมักได้ผลเสมอในสังคมไทย)   แล้วพูดกรอกหูมวลชนทุกวันๆๆๆๆ. ในขณะที่เพื่อไทยเลือกใช้วิธีไม่ตอบโต้/วิญญูชน(เดินหน้าทำงาน-  สไตล์ทักษิณอีกแล้ว)-จะมีตอบโต้บ้างก็เพียงบางโอกาสและตอบเป็นภาษาแบบชาวบ้านให้ชาวบ้านเข้าใจได้ไม่ค่อยเคลียร์เท่าใดนัก(คือพูดไม่เต็มตีนว่างั้นเถอะ). ทางฝ่าย นปช.ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงภารกิจด้านนี้ – จะมีก็แต่กลุ่มพี่น้องแดงที่ต่อสู้เรื่องปล่อยตัวนักโทษการเมือง.  ฝ่าย ปชต.ที่กระจัดกระจาย ต่างก็ทำไปแบบเชิงรับตามโอกาสและเงื่อนไขของแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในพื้นที่ของ internet ที่เป็นลักษณะบ่นและคุยกันเอง ข้าพเจ้าเห็นว่ายังมีลักษณะของการเคลื่อนไหวเชิงรุกไม่มากพอ ซึ่งจะทำเชิงรุกได้ ต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะสื่อ “สาร” ออกไป.  นี่ยังไม่นับที่ เพื่อไทยมันจะเอาขนาดไหน  ในเรื่อง ปชต. – เช่น  การให้ประกันนักโทษการเมือง, การเอาฆาตรกรมาลงโทษ, อนุดิษฐ์กับเฉลิมออกมาพูดหลายครั้งแล้วเรื่องจะจัดการ web หมิ่นอย่างเด็ดขาด เป็นต้น นอกจากนั้น ความเข้าใจ/ความขัดแย้งระหว่างขบวนแดงเอง กับ นปช. กับแกนที่เข้าไปเป็น รมต.เป็นข้าราชการการเมือง จะมีโอกาสถูกสายลับของพวกมันทำการปั่นหูยุแยง จนลามไปถึงการแตกแยกจนทำให้อ่อนแอไปหรือไม่ . ล่าสุด เรื่องค่าอาหารทีมงานนายกฯ และเรื่องบางระกำโมเดล(ทีวีขวาเอาชาวบ้านที่เดือดร้อนตกหล่นมาออกข่าวด่ากระแนะ     กระแหนทุกวัน)-ซึ่งบางอย่างเป็นจริง

ภารกิจแย่งชิงมวลชนโดยการครองการนำทางอุดมการณ์
อย่าลืมว่า ยุทธศาตร์สำคัญของฝ่าย ปชต.อย่างหนึ่งคือ เนื่องจากว่า เราไม่ได้ใช้ยุทธศาสตร์การต่อสู้ยึดอำนาจรัฐด้วยอาวุธ ดังนั้น เราจึงต้องมุ่งเน้นยุทธศาสตร์การชิงการนำทางอุดมการณ์ความคิด /การแย่งชิงมวลชน : จากแดงทักษิณให้เป็นแดงปชต.มากขึ้น, จากแดง ปชต.ให้เป็นแดงก้าวหน้ามากขึ้น,              จากแดงก้าวหน้าให้เป็นองค์กรจัดตั้ง/ขบวนที่เข้มแข็งมากขึ้น(เข้มแข็งไม่ได้แปลว่าต้องรวมศูนย์อย่างเดียว), จากส้มให้กลายเป็นแดง, จากเหลืองอ่อนให้กลายเป็นส้มให้มากขึ้น – ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้อุดมการณ์ ปชต.เข้าไปครอบคลุมมวลชนให้ได้มากที่สุด ในพื้นที่ ในกลุ่มชนชั้น ในกลุ่มสาขาอาชีพ ให้ได้มากที่สุด –ระบบ/กติกา ปชต.จึงจะสามารถลงหลักปักฐานได้อย่างมั่นคงในประเทศไทยของเราเสียที. ประเด็นปัญหา   ก็คือ จะทำอย่างไร จึงจะสามารถครองการนำทางอุดมการณ์(ปชต.)และแย่งชิงมวลชนได้สำเร็จ?      ข้าพเจ้าคิดว่า นอกเหนือจากภารกิจการจัดตั้งองค์กรมวลชนแดงที่เข้มแข็ง     และภารกิจผลักดันข้อเสนอการสร้างระบอบ ปชต.ที่ก้าวหน้าสมบูรณ์ในระยะยาวแล้วนั้น  ฝ่าย ปชต.จำเป็นจะต้องเข้าช่วยหนุนเพื่อไทย ในการถูกโจมตีรายวันด้วย – ซึ่งมันจะเกี่ยวพันกับสถาปนาอุดมการณ์ ปชต. คือ มันก็ต้องอธิบาย “ผ่านประเด็นรูปธรรม-รายวัน”ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันในสังคมปัจจุบันด้วยนั่นแหละ ซึ่งจำเป็นต้องสื่อ “ข้อมูล+สาร+ตรรกะ+ข้อวิจารณ์+ข้อเสนอที่ดีกว่า” ในแต่ละประเด็นที่ถูกโจมตีเหล่านั้นออกไป อย่างทันการณ์  

ทุกวันนี้ มีคนเขียน คนทำเพื่อตอบโต้เยอะแยะแล้ว?
ถูกต้อง มีเยอะมาก และหลายชิ้นก็ดีมากๆด้วย แต่ยังมีลักษณะกระจัดกระจาย, เป็นการอธิบายบางมุมในหนึ่งเรื่องเท่านั้น ทั้งยังอ่านกันอยู่ในหมู่ผู้สนใจที่นั่งหน้าจอคอมพ์เท่านั้น ,ยังไม่เป็น Package หรือคู่มือ            ที่ชาวบ้านมวลชนทั่วไปเข้าถึงและนำไปใช้ได้อย่างง่าย เช่น บทความของนิติราษฎร์,คำผกา,บทความใน Thai e –news,ในประชาไทย,ในฟ้าเดียวกัน,ในมติชน ฯลฯ  ทีนี้ต้องเข้าใจว่ามันมี 2 ประเภทใหญ่ๆของชุดคู่มือข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดเพื่อเข้าใจและผลักดันระบบ ปชต.ที่สมบูรณ์ เช่น เรื่อง รธน.,สว.,องค์กรอิสระ,ทหาร,ศาล ฯลฯ  กับ 2) ชุดเพื่อเข้าใจและตอบโต้การโจมตีปัญหารูปธรรม เช่น ประเด็นการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการ, การลดราคาน้ำมัน, การขึ้นค่าแรง เป็นต้น  ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงใคร่เสนอว่า หากมวลชนสามารถมี “คู่มือ” ที่สามารถใช้ทำความเข้าใจ, มีข้อมูลอ้างอิง, ใช้ตอบโต้หรืออธิบายให้ผู้อื่นเห็นด้วย-ได้อย่างง่าย    เป็นข้อๆ และอย่างเป็นระบบ ก็จะดีไม่น้อย  ตัวอย่าง คู่มือที่น่าสนใจ ก็อย่างเช่น ชุดข้อมูลความรู้ของชูพงศ์ หรือชุดของบรรพต เป็นต้น

ข้าพเจ้าคิดว่าภารกิจเพื่อหนุนช่วยการต่อสู้ในแนวรบด้านนี้ก็มีความสำคัญมากไม่แพ้งานระยะยาวที่ได้คุยกัน – ภารกิจระยะยาวจะเป็นไปอย่างลำบาก หากระยะสั้นมีแต่ขวากหนามทิ่มแทงหรือปล่อยให้ถูกซุ่มตีรายวัน

ประเด็นคือ จะทำยังไง? เพราะมันต้องทำทั้งข้อมูล รวบรวม สังเคราะห์ และทำออกมาเป็น Package เป็น คู่มือ/เครื่องมือ ให้ชาวบ้านเอาไปใช้ 
คือ นึกภาพออกไหมว่า ชาวบ้านเข้าใจนะ แต่เวลาจะไปพูด หรือถกเถียง ชาวบ้านจะขาดข้อมูลไง จะดีไหม ถ้าชาวบ้าน มี "เครื่องมือ-คู่มือ" เอาไว้ติดมือ ไปโฆษณาต่อ ตอบเป็นข้อๆ มีข้อมูลยันด้วย เป็นระบบ เบ๊ะๆๆๆๆ เอาให้คนฟังต้อง พยักหน้าหงึกๆๆ หรือสำหรับพวกที่จ้องเถียง ให้เอาแบบ อ้าปากเถียงไม่ได้ ต้องอ้าปากค้าง อะ ๆๆๆ 


ที่สำคัญ ท่านคิดยังไง?ค่ะ

เราควรทำอะไร ในสถานการณ์หลังเพื่อไทยเป็นรัฐบาล? ตอนที่ 1

ข้อปรึกษาหารือเบื้องต้น
เรื่อง เราควรทำอะไร ในสถานการณ์หลังเพื่อไทยเป็นรัฐบาล?
ตอนที่ 1 : มุ่งโจมตี 4 เงื่อนไขที่ค้ำยันอำนาจฝ่ายขวา
(อันนี้คิดและเขียนแบบไวนะคะ)


Intro
หลังที่เพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และกิจกรรมเสื้อแดงแบบเวทีใหญ่ที่ต้องระดมกำลังขนาดใหญ่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์นั้น ปรากฏว่า เราเองก็ได้ช่วยกันคิดแนวทางภารกิจในระยะต่อไปกันบ้างแล้ว คือ 1) สนับสนุนและร่วมต่อสู้เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าสมบูรณ์,               2)ภารกิจการขยายการจัดตั้งองค์กร/ขบวนมวลชน, 3)อีกทั้งภารกิจในการป้องกันการพลิกฟื้นอำนาจของฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ที่มีทุนซากเดนศักดินาอยู่เบื้องหลัง(ต่อไปจะเรียกมันว่า “ฝ่ายขวา”)         แต่นั่นก็ยังคงเป็นแนวทางระยะยาว ,  ยังไม่ได้ลงวิธีการรูปธรรม. ในขณะที่ปัจจุบัน ฝ่ายขวาได้ใช้วิธีการรบแบบโจมตีเพื่อทำลายความชอบธรรมชนิดรายวัน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า     เราอาจต้องใส่ใจทั้งภารกิจระยะยาวและภารกิจระยะสั้นที่มีความสำคัญ ไม่แพ้งานระยะยาวด้วยเช่นกัน – แต่ในตอนที่ 1 นี้ จะขอปรึกษาเรื่องภารกิจระยะยาวก่อน

ทบทวน :
เผด็จการอำมาตย์, ทุนซากเดนศักดินา และ CIA คือ อุปสรรคตัวหลักต่อควาก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ      และประชาธิปไตยของสังคมไทย. ดังนั้น เป้าหมายของฝ่าย ปชต.จึงต้องมุ่งจัดการอุปสรรค/ศัตรูของ ปชต.ไทย เหล่านี้ให้ได้(และแน่นอนว่า ไม่ใช่ด้วยวิธีการฆ่าคน เพราะไม่มีปัญญาฆ่า ฆ่ายังไงก็ไม่หมด ถ้าอุดมการณ์ของพวกมันยังคงได้รับการยอมรับจากมวลชนอยู่) ประเด็นคือ จะจัดการพวกมันอย่างไร?
ก็ต้องชัดไปที่ ปัจจัยเงื่อนไขที่ค้ำยันอิทธิพลของมัน


เงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ ที่ทำให้อำนาจของฝ่ายขวายังคงมีอิทธิพลครอบงำสังคมไทยอยู่ ได้แก่อะไรบ้าง
     1)    รธน.+กฎหมาย/กติกาเหลือง(ที่ไม่เป็น ปชต.)
2)    อุดมการณ์+วาทกรรมเหลือง : ที่ผ่านพิธีกรรม+วัฒนธรรม+หลักสูตรการศึกษา+ศิลปวัฒนธรรม     +วรรณกรรม+ข่าวสาร+งานพัฒนาชุมชน 
3)    กลไก+เสบียงเหลือง เช่น บริวารขุนศึก/ขุนนาง+พรรค ปชป.+ศาล +ขุนนางวิชาการ+สื่อ           +องค์กรอิสระ+ขบวนประชาสังคม/NGOsเหลือง ,สภาพัฒนาการเมือง,พอช.,สสส., etc .
4)    โครงสร้าง/ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์-แต่แตกกระจาย ดังจะขยายความดังต่อไปนี้

เงื่อนไขตัวที่ 1 : รธน.50 และ กฎหมายที่ไม่เป็น ปชต.
เพราะ รธน.จะเป็นตัวกำหนดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริหรือไม่, อำนาจทั้ง 3 ฝ่าย(นิติบัญญัติ – บริหาร – ตุลาการ)มาจากประชาชนและถูกควบคุมโดยประชาชนอย่างไร, มีอำนาจที่เหนือกว่าอำนาจของประชาชนอีกหรือไม่. คนที่จะมาใช้อำนาจทั้ง 3 ฝ่าย จะมาจากวิธีการใด, ใช้อำนาจได้แค่ไหน, จะถ่วงดุล/ตรวจสอบกันอย่างไร. นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอีกหลายตัวที่ค้ำยันอำนาจของฝ่ายขวาเอาไว้    เช่น ม.112,พรบ.ทรัพย์สิน เป็นต้น  ซึ่งต้องศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์       ทำข้อเสนอและผลักดัน  การแก้ไข โดยอีกด้านก็ต้องประสานกับเพื่อไทยเพื่อดำเนินการในสภาด้วย.

เงื่อนไขตัวที่ 2 : อุดมการณ์และวาทกรรมเหลือง
พวกฝ่ายขวาได้ผลิตซ้ำอุดมการณ์ของตนเองมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมากๆ โดยทำการผลิตซ้ำ      ในพื้นที่มิติทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและศาสนา ทั้งนี้โดยผ่านกิจกรรม พิธีกรรม วัฒนธรรม+หลักสูตรการศึกษา+ศิลปวัฒนธรรม+วรรณกรรม+ข่าวสาร+งานพัฒนาชุมชน. ตัวอย่างอุดมการณ์และวาทกรรมเหลือง ได้แก่ ธรรมราชา,ประชาธิปไตยแบบไทยๆ,             ข้าราชการของพระราชา, ปชต.ไม่จำเป็นต้องเลือกตั้ง, ปชต.ทางตรง, ประชาสังคมแบบไทยๆ,        พระราชอำนาจ-ม.7,เศรษฐกิจเจียมตัว และพิธีกรรมต่างๆที่กดทับหลักการเสรีภาพและเสมอภาค.    ฝ่าย ปชต.ต้องเปิดโปง ขำแหละ กระชากหน้ากากอุดมการณ์และวาทกรรมของพวกมัน และเร่งผลิต เชิดชูอุดมการณ์และวาทกรรมของฝ่าย ปชต. โดยชิงให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจต่อมวลชน และโดยผ่านพิธีกรรมของประชาชนที่สร้างขึ้นใหม่ อย่างตีคู่ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทุกพื้นที่ ทุกโอกาส เช่นเดียวกับที่พวกมันทำ ให้ได้

เงื่อนไขตัวที่ 3 : กลไกและทุนเสบียงเหลือง
นอกจากการมุ่งโจมตีไปที่อุดมการณ์และวาทกรรมของพวกมันแล้ว  เราจำเป็ต้องจัดการกลไกและเสบียงของพวกมันด้วย. พวกฝ่ายขวาได้อาศัยกลไกต่างๆและวางคนของตัวเองเข้าไปยึดกุมได้เกือบทั้งหมด พร้อมๆกับใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาลของกลไกเหล่านั้น(เงิน คน อุปกรณ์) เพื่อทำงานเป็นแขนขาให้พวกมัน ทั้งที่เป็นกลไกการปราบปรามและกลไกที่ทำงานด้านอุดมการณ์  ทั้งๆที่กลไกและทรัพยากรเหล่านี้      เกือบทั้งหมดต้องเป็นของประชาชนและต้องทำหน้าที่รับใช้ปกป้องระบบและอุดมการณ์แบบปชต.  หากฝ่าย ปชต.สามารถเข้าจัดการเปิดโปง ทำลายความชอบธรรม สลายพลังเหลือง            หรือปรับเปลี่ยนและยึดกุม หรือสามารถดึงกลับมาเป็นแดงได้ ก็จะทำให้พลังของพวกมันให้อ่อนแอลงได้อย่างมาก     พร้อมๆกับการทำให้กลไกเหล่านั้นหันกลับมารับใช้ ปชต.ต่อไป.  กลไกและทุนเสบียงดังกล่าว ได้แก่ ทหาร, ศาล, สำนักทรัพย์สิน, องคมนตรี, สว.,องค์กรอิสระทั้งหมด, สสส., พอช.,      สภาพัฒนาการเมือง,         สถาบันพระปกเกล้า,ราษฎรอาวุโส, ข้าราชการทุกกระทรวง, นักวิชาการ, สื่อมวลชน, พรรคการเมือง,ศิลปิน, NGO ,กลุ่มพันธมิตรอันธพาลทางการเมือง, พวกสลิ่ม,               กลุ่มทุนเหลือง ฯลฯ

เงื่อนไขตัวที่ 4 : โครงสร้าง/ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์-แต่แตกระจาย 
ถึงแม้ว่า ประเด็นนี้อาจจะยังไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วนในจังหวะนี้ก็ตาม(เนื่องจากภารกิจสำคัญอยู่ที่      สร้าง ปชต.ระดับโครงสร้างรวมก่อน) – แต่เราก็อาจต้องเตรียมศึกษา เตรียมข้อเสนอและเตรียมความเข้าใจต่อมวลชนเอาไว้ด้วย เพราะเงื่อนไขตัวนี้ เป็นทั้งอุปสรรคและเป็นทั้งตัวเอื้อที่สำคัญต่อการเรียนรู้ทางการเมืองของมวลชน ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หลังจากผ่านการเรียนรู้การปกครองตนเองระดับตำบล  ในช่วงระยะเวลาไม่นาน มวลชนสามารถเรียนรู้การเมืองการปกครองได้อย่างรวดเร็วและเป็นฐานความเข้าใจเบื้องต้น ที่ถูกยกระดับขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อประสานเข้ากับการต่อสู้ ปชต.ในระดับชาติ –    แน่นอนว่า ต้องเปิดโปงขบวนการของฝ่ายขวาที่ชื่อ “ขบวนจังหวัดจัดการตนเอง” ที่แอบอ้างแบบเนียนเข้ามาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ เพราะหลังพฤษภา35 เราชูเรื่องกระจายอำนาจเลือกตั้งผู้ว่า พวกนี้แหละที่ออกมาคัดค้าน พอทักษิณฯทำผู้ว่า CEO เพื่อแก้ปัญหาเรื่องระบบราชการที่แตกกระจาย                 พวกมันก็ต่อต้านหาว่าเป็นระบบเผด็จการ แล้วต่อมาพวกมันก็ช่วยกันล้มรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง       ชูพระราชอำนาจ ม.7  เรียกร้องและสนับสนุนการรัฐประหารเมื่อปี49 เข้าไปเป็น สสร. เป็นกรรมการ   เข้าไปทำงานให้ เผด็จการ - มาบัดนี้ เรากำลังสู้กับเผด็จการ พวกมันกลับออกมาเคลื่อนเรื่องสมัชชาปฏิรูปและกระจายอำนาจ โดยการป่าวประกาศว่า “อย่าไปเข้าร่วมกับการต่อสู้การเมืองระดับชาติเลย เป็นการต่อสู้ของชนชั้นนำ ชาวบ้านถูกหลอกใช้ เรามาจัดการตนเองที่จังหวัดดีกว่า” – จนพี่น้องเสื้อแดงบางส่วนตามไม่ทันเผลอเข้าไปร่วมขบวนกับพวกมัน

ดังนั้น ภารกิจของฝ่ายประชาธิปไตย คือ ต้องระดมสรรพกำลังมุ่งเข้าจัดการเงื่อนไขทั้ง 4 ประการ    เหล่านี้ ให้ได้

ประเด็นต่อมาคือ จะจัดการเงื่อนไขทั้ง 4 ตัวนี้ยังไง? คือ มันต้องทำเป็นแผนงาน เป็นระบบ มันต้องมีทั้งงานข้อมูล งานผลิตคู่มือ-สื่อเผยแพร่ และงานจัดตั้ง-เคลื่อนไหว  ต้องมีการแบ่งงานกันทำ 
และที่สำคัญ คือ คิดยังไงคะ อยากฟังความเห็นค่ะ