สำนัก

โดย
สำนักการกระจายอำนาจและปกครองตนเอง(กอ-ปอ)
Decentralization & Local Autonomy Agency(DLA)

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

เราควรทำอะไร ในสถานการณ์หลังเพื่อไทยเป็นรัฐบาล? ตอนที่ 1

ข้อปรึกษาหารือเบื้องต้น
เรื่อง เราควรทำอะไร ในสถานการณ์หลังเพื่อไทยเป็นรัฐบาล?
ตอนที่ 1 : มุ่งโจมตี 4 เงื่อนไขที่ค้ำยันอำนาจฝ่ายขวา
(อันนี้คิดและเขียนแบบไวนะคะ)


Intro
หลังที่เพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และกิจกรรมเสื้อแดงแบบเวทีใหญ่ที่ต้องระดมกำลังขนาดใหญ่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์นั้น ปรากฏว่า เราเองก็ได้ช่วยกันคิดแนวทางภารกิจในระยะต่อไปกันบ้างแล้ว คือ 1) สนับสนุนและร่วมต่อสู้เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าสมบูรณ์,               2)ภารกิจการขยายการจัดตั้งองค์กร/ขบวนมวลชน, 3)อีกทั้งภารกิจในการป้องกันการพลิกฟื้นอำนาจของฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ที่มีทุนซากเดนศักดินาอยู่เบื้องหลัง(ต่อไปจะเรียกมันว่า “ฝ่ายขวา”)         แต่นั่นก็ยังคงเป็นแนวทางระยะยาว ,  ยังไม่ได้ลงวิธีการรูปธรรม. ในขณะที่ปัจจุบัน ฝ่ายขวาได้ใช้วิธีการรบแบบโจมตีเพื่อทำลายความชอบธรรมชนิดรายวัน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า     เราอาจต้องใส่ใจทั้งภารกิจระยะยาวและภารกิจระยะสั้นที่มีความสำคัญ ไม่แพ้งานระยะยาวด้วยเช่นกัน – แต่ในตอนที่ 1 นี้ จะขอปรึกษาเรื่องภารกิจระยะยาวก่อน

ทบทวน :
เผด็จการอำมาตย์, ทุนซากเดนศักดินา และ CIA คือ อุปสรรคตัวหลักต่อควาก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ      และประชาธิปไตยของสังคมไทย. ดังนั้น เป้าหมายของฝ่าย ปชต.จึงต้องมุ่งจัดการอุปสรรค/ศัตรูของ ปชต.ไทย เหล่านี้ให้ได้(และแน่นอนว่า ไม่ใช่ด้วยวิธีการฆ่าคน เพราะไม่มีปัญญาฆ่า ฆ่ายังไงก็ไม่หมด ถ้าอุดมการณ์ของพวกมันยังคงได้รับการยอมรับจากมวลชนอยู่) ประเด็นคือ จะจัดการพวกมันอย่างไร?
ก็ต้องชัดไปที่ ปัจจัยเงื่อนไขที่ค้ำยันอิทธิพลของมัน


เงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ ที่ทำให้อำนาจของฝ่ายขวายังคงมีอิทธิพลครอบงำสังคมไทยอยู่ ได้แก่อะไรบ้าง
     1)    รธน.+กฎหมาย/กติกาเหลือง(ที่ไม่เป็น ปชต.)
2)    อุดมการณ์+วาทกรรมเหลือง : ที่ผ่านพิธีกรรม+วัฒนธรรม+หลักสูตรการศึกษา+ศิลปวัฒนธรรม     +วรรณกรรม+ข่าวสาร+งานพัฒนาชุมชน 
3)    กลไก+เสบียงเหลือง เช่น บริวารขุนศึก/ขุนนาง+พรรค ปชป.+ศาล +ขุนนางวิชาการ+สื่อ           +องค์กรอิสระ+ขบวนประชาสังคม/NGOsเหลือง ,สภาพัฒนาการเมือง,พอช.,สสส., etc .
4)    โครงสร้าง/ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์-แต่แตกกระจาย ดังจะขยายความดังต่อไปนี้

เงื่อนไขตัวที่ 1 : รธน.50 และ กฎหมายที่ไม่เป็น ปชต.
เพราะ รธน.จะเป็นตัวกำหนดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริหรือไม่, อำนาจทั้ง 3 ฝ่าย(นิติบัญญัติ – บริหาร – ตุลาการ)มาจากประชาชนและถูกควบคุมโดยประชาชนอย่างไร, มีอำนาจที่เหนือกว่าอำนาจของประชาชนอีกหรือไม่. คนที่จะมาใช้อำนาจทั้ง 3 ฝ่าย จะมาจากวิธีการใด, ใช้อำนาจได้แค่ไหน, จะถ่วงดุล/ตรวจสอบกันอย่างไร. นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอีกหลายตัวที่ค้ำยันอำนาจของฝ่ายขวาเอาไว้    เช่น ม.112,พรบ.ทรัพย์สิน เป็นต้น  ซึ่งต้องศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์       ทำข้อเสนอและผลักดัน  การแก้ไข โดยอีกด้านก็ต้องประสานกับเพื่อไทยเพื่อดำเนินการในสภาด้วย.

เงื่อนไขตัวที่ 2 : อุดมการณ์และวาทกรรมเหลือง
พวกฝ่ายขวาได้ผลิตซ้ำอุดมการณ์ของตนเองมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมากๆ โดยทำการผลิตซ้ำ      ในพื้นที่มิติทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและศาสนา ทั้งนี้โดยผ่านกิจกรรม พิธีกรรม วัฒนธรรม+หลักสูตรการศึกษา+ศิลปวัฒนธรรม+วรรณกรรม+ข่าวสาร+งานพัฒนาชุมชน. ตัวอย่างอุดมการณ์และวาทกรรมเหลือง ได้แก่ ธรรมราชา,ประชาธิปไตยแบบไทยๆ,             ข้าราชการของพระราชา, ปชต.ไม่จำเป็นต้องเลือกตั้ง, ปชต.ทางตรง, ประชาสังคมแบบไทยๆ,        พระราชอำนาจ-ม.7,เศรษฐกิจเจียมตัว และพิธีกรรมต่างๆที่กดทับหลักการเสรีภาพและเสมอภาค.    ฝ่าย ปชต.ต้องเปิดโปง ขำแหละ กระชากหน้ากากอุดมการณ์และวาทกรรมของพวกมัน และเร่งผลิต เชิดชูอุดมการณ์และวาทกรรมของฝ่าย ปชต. โดยชิงให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจต่อมวลชน และโดยผ่านพิธีกรรมของประชาชนที่สร้างขึ้นใหม่ อย่างตีคู่ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทุกพื้นที่ ทุกโอกาส เช่นเดียวกับที่พวกมันทำ ให้ได้

เงื่อนไขตัวที่ 3 : กลไกและทุนเสบียงเหลือง
นอกจากการมุ่งโจมตีไปที่อุดมการณ์และวาทกรรมของพวกมันแล้ว  เราจำเป็ต้องจัดการกลไกและเสบียงของพวกมันด้วย. พวกฝ่ายขวาได้อาศัยกลไกต่างๆและวางคนของตัวเองเข้าไปยึดกุมได้เกือบทั้งหมด พร้อมๆกับใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาลของกลไกเหล่านั้น(เงิน คน อุปกรณ์) เพื่อทำงานเป็นแขนขาให้พวกมัน ทั้งที่เป็นกลไกการปราบปรามและกลไกที่ทำงานด้านอุดมการณ์  ทั้งๆที่กลไกและทรัพยากรเหล่านี้      เกือบทั้งหมดต้องเป็นของประชาชนและต้องทำหน้าที่รับใช้ปกป้องระบบและอุดมการณ์แบบปชต.  หากฝ่าย ปชต.สามารถเข้าจัดการเปิดโปง ทำลายความชอบธรรม สลายพลังเหลือง            หรือปรับเปลี่ยนและยึดกุม หรือสามารถดึงกลับมาเป็นแดงได้ ก็จะทำให้พลังของพวกมันให้อ่อนแอลงได้อย่างมาก     พร้อมๆกับการทำให้กลไกเหล่านั้นหันกลับมารับใช้ ปชต.ต่อไป.  กลไกและทุนเสบียงดังกล่าว ได้แก่ ทหาร, ศาล, สำนักทรัพย์สิน, องคมนตรี, สว.,องค์กรอิสระทั้งหมด, สสส., พอช.,      สภาพัฒนาการเมือง,         สถาบันพระปกเกล้า,ราษฎรอาวุโส, ข้าราชการทุกกระทรวง, นักวิชาการ, สื่อมวลชน, พรรคการเมือง,ศิลปิน, NGO ,กลุ่มพันธมิตรอันธพาลทางการเมือง, พวกสลิ่ม,               กลุ่มทุนเหลือง ฯลฯ

เงื่อนไขตัวที่ 4 : โครงสร้าง/ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์-แต่แตกระจาย 
ถึงแม้ว่า ประเด็นนี้อาจจะยังไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วนในจังหวะนี้ก็ตาม(เนื่องจากภารกิจสำคัญอยู่ที่      สร้าง ปชต.ระดับโครงสร้างรวมก่อน) – แต่เราก็อาจต้องเตรียมศึกษา เตรียมข้อเสนอและเตรียมความเข้าใจต่อมวลชนเอาไว้ด้วย เพราะเงื่อนไขตัวนี้ เป็นทั้งอุปสรรคและเป็นทั้งตัวเอื้อที่สำคัญต่อการเรียนรู้ทางการเมืองของมวลชน ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หลังจากผ่านการเรียนรู้การปกครองตนเองระดับตำบล  ในช่วงระยะเวลาไม่นาน มวลชนสามารถเรียนรู้การเมืองการปกครองได้อย่างรวดเร็วและเป็นฐานความเข้าใจเบื้องต้น ที่ถูกยกระดับขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อประสานเข้ากับการต่อสู้ ปชต.ในระดับชาติ –    แน่นอนว่า ต้องเปิดโปงขบวนการของฝ่ายขวาที่ชื่อ “ขบวนจังหวัดจัดการตนเอง” ที่แอบอ้างแบบเนียนเข้ามาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ เพราะหลังพฤษภา35 เราชูเรื่องกระจายอำนาจเลือกตั้งผู้ว่า พวกนี้แหละที่ออกมาคัดค้าน พอทักษิณฯทำผู้ว่า CEO เพื่อแก้ปัญหาเรื่องระบบราชการที่แตกกระจาย                 พวกมันก็ต่อต้านหาว่าเป็นระบบเผด็จการ แล้วต่อมาพวกมันก็ช่วยกันล้มรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง       ชูพระราชอำนาจ ม.7  เรียกร้องและสนับสนุนการรัฐประหารเมื่อปี49 เข้าไปเป็น สสร. เป็นกรรมการ   เข้าไปทำงานให้ เผด็จการ - มาบัดนี้ เรากำลังสู้กับเผด็จการ พวกมันกลับออกมาเคลื่อนเรื่องสมัชชาปฏิรูปและกระจายอำนาจ โดยการป่าวประกาศว่า “อย่าไปเข้าร่วมกับการต่อสู้การเมืองระดับชาติเลย เป็นการต่อสู้ของชนชั้นนำ ชาวบ้านถูกหลอกใช้ เรามาจัดการตนเองที่จังหวัดดีกว่า” – จนพี่น้องเสื้อแดงบางส่วนตามไม่ทันเผลอเข้าไปร่วมขบวนกับพวกมัน

ดังนั้น ภารกิจของฝ่ายประชาธิปไตย คือ ต้องระดมสรรพกำลังมุ่งเข้าจัดการเงื่อนไขทั้ง 4 ประการ    เหล่านี้ ให้ได้

ประเด็นต่อมาคือ จะจัดการเงื่อนไขทั้ง 4 ตัวนี้ยังไง? คือ มันต้องทำเป็นแผนงาน เป็นระบบ มันต้องมีทั้งงานข้อมูล งานผลิตคู่มือ-สื่อเผยแพร่ และงานจัดตั้ง-เคลื่อนไหว  ต้องมีการแบ่งงานกันทำ 
และที่สำคัญ คือ คิดยังไงคะ อยากฟังความเห็นค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น